น้ำมันที่ใช้ในการทำสบู่ตามปฏิกริยา "Saponification Reaction "มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่ปริมาณของสารที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของสบู่.ตามที่เคยกล่าวมาในตอนต้นๆที่กล่าวถึงกรดไขมันชนิดต่างๆเช่น Lauric acid ,Linoleic acid ,Myristic acid.,i.e,.ทั้งสิ้นมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน.
ดังต่อไปนี้.
1.Lauric Acid.

Lauric Acid มีสูตรโมเลกุลดังนี้C12H24O2

โครงสร้างโมเลกุลของLauric Acid
Lauric Acid เป็นกรดไขมันแบบอิ่มตัวที่พบมากในน้ำมันมะพร้าว,น้ำมันแก่นในปาล์มและยังพบมากอีกในน้ำนมของมนุษย์ (6.2% ), นมวัว(2.9%), และนมแพะ(3.1%).
นอกจากนั้นเรายังพบlauric Acid ใน

# แหล่งข้อมูล:https://en.wikipedia.org/wiki/Lauric_acid
น้ำมันLaurel ที่ประกอบด้วย Lauric Acid
Luaric Acid ถูกนำมาใช้มากกับผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงผิวเพราะสามารถคงความชุ่มชื้น,คงความอ่อนนุ่มลดความหยาบกระด้าง,ยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและยังช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของสิว.นอกจากนั้นLauric Acid ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของผิว,ขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไปและผิวยังสามารถดูดซับLauric Acid ลงสู่ผิวได้รวดเร็วมาก.
สำหรับความปลอดภัยและผลข้างเคียงจากการใช้ Lauric Acid นั้นมีมาตรฐานการรับรองทั้งจาก CIR และ FDAในเครื่องสำอาง.และในวารสารงานวิจัย Journal of the American College of Toxicologyที่ตีพิมพ์ในปี 1987 ได้มีการกล่าวถึงLauric Acid ใน CosmeticDatabase and the Environmental Working Group ในด้านความปลอดภัยในการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมว่า Lauric Acid มีความปลอดภัยอยู่ที่ 68%.และยังถูกนำมาใช้ผสมเป็นอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนักอีกด้วย.

Lairic Acid ในสบู่ธรรมชาติช่วยให้สบู่คงรูปแข็ง,เพิ่มคุณสมบัติในการทำความสะอาดและให้ฟองที่นุ่มและเบา.




แปลและเรียบเรียงใหม่:https://www.truthinaging.com/ingredients/lauric-acid

ตามที่เคยแยกชนิดของสารลดแรงตึงผิวหรือที่เรียกกันว่า Surfactant ออกเป็น 4ประเภท. Surfactant เมื่ออยู่ในสารละลายผสมจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวที่เป็น Hydrophilic ส่วนนี้จะชอบน้ำและอีกส่วนคือ Hydrophobic ส่วนนี้จะชอบน้ำมัน.
ตามรูป

หลักการทำงานของ Surfactant
        ส่วน Hydrophobic ซึ่งเป็นส่วนที่ชอบน้ำจะจับกับโมเลกุลของน้ำในขณะที่อีกส่วนคือ Hydrophobic ซึ่งเป็นส่วนที่ชอบน้ำมันก็จะหันไปจับกับโมเลกุลของน้ำมัน.ตามธรรมชาติน้ำกับน้ำมันเป็นสารคนละประเถทไม่สามารถรวมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันได้.และน้ำมันจะแยกตัวแขวนลอยอยู่ในน้ำ.
ตามรูปข้างล่าง
      
การจำแนกประเภทของSurfactant นั้นเราใช้ชนิดของประจุไฟฟ้าที่อยู่บนส่วนที่ชอบน้ำHydrophilic.และแบ่งออกมาได้ 4 จำพวกตามนี้.
  1. Aninonic Surfactant (-) สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ เป็นสารกลุ่มหลักของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกได้ดีมาก มีฟองมาก และละลายน้ำได้ดี แต่ค่อนข้างระคายเคืองผิว นิยมใช้กันมากใน สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าต่างๆ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ  เช่น SLS (Sodium laureth sulfate), SLES(Sodium laureth sulfate), Sarcosinate, Sodium / Ammonium Lauryl Ether Sulphate,  Sodium /Ammomiun LaurylSulphate,  Linear Alkyl Benzene Sulphonate ( LAS) เป็นต้น
  2. Cationic Surfactant (+) สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก สารกลุ่มนี้ไม่มีความสามารถในการทำความสะอาด และไม่มีฟอง แต่สามารถเกาะและเคลือบเส้นผมได้ดี จึงนิยมใช้ในกลุ่มของ ครีมนวดผม หรือ น้ำยาปรับผ้านุ่ม เช่น Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB), benzalkonium chloride, Polyquaternium, Alkyltrimethyl ammoniumchloride เป็นต้น
  3. Amphoteric Surfactant (+,-) สารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบ สารทำความสะอาดกลุ่มน้ำมีคุณสมบัติทนต่อน้ำกระด้าง อ่อนโยนต่อผิว สามารถใช้ร่วมกับ SLS, SLES ได้ดี เมื่อใช้ร่วมกันสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อข้นขึ้นได้ ให้ฟองนุ่มมาก แต่ทำความสะอาดได้ไม่ดีเท่า Anionic Surfactant จึงนิยมใช้ร่วมกัน สารในกลุ่มนี้เช่น Cocamidoproply Betain เป็นต้น
  4. Nonionic Surfactant สารลดแรงตึงผิวชนิดนี้ไม่มีประจุ สารในกลุ่มนี้มีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ละลายน้ำไม่ได้ จนละลายน้ำได้ดีมาก สารกลุ่มนี้อ่อนโยนต่อผิวมาก แต่ไม่ให้ฟอง บางคนไม่ชอบเพราะไม่มีฟอง ทำให้รู้สึกว่าไม่สะอาด จริงๆแล้ว การมีฟองหรือไม่มี ไม่ได้เกี่ยวกับการทำความสะอาด ชะล้างสิ่งสกปรกเลย มันจึงเป็นความเชื่อผิดๆที่ว่ายิ่งฟองเยอะยิ่งสะอาด  การที่ฟองยิ่งเยอะจะทำให้ผิวเรายิ่งระคายเคืองด้วยซ้ำ เช่น Lauryl Glucoside, PEG-6 Caprylic/Capric Glycerides เป็นต้น  ซึ่งนิยมใช้ใน เจลล้างหน้าสูตรไม่มีฟอง และ ผลิตภัณฑ์กลุ่มล้างเครื่องสำอางต่างๆ.       
                จะเห็นว่าสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบจะมีคุณสมบัติทำให้เกิดฟองดีที่สุด ส่วนสารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบจะมีคุณสมบัติในการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มดีที่สุด สารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในปัจจุบันได้มีการนำสารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                 รอยเปื้อนจากไข่,นมและเลือดเป็นรอยเปื้อนจากโปรตีนและไม่ละลายในน้ำ.จัดว่าเป็นรอยเปื้อนที่ทำความสะอาดยากที่สุด.การทำความสะอาดใช้ได้อย่างเดียวproteolytic enzymes (enzymes able to break down proteins) ผสมกับdetergents,  proteinic substance ทำให้น้ำซึมผ่านได้และdetergent จะทำให้รอยเปื้อนจำพวกนี้กระจายตัวผสมกับน้ำมัน.ปัจจุบันพบว่าEnzymeที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดรอยเปื้อนเหล่านี้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบ.แต่ก็ยังมีการนำมาใช้อยู่.

แหล่งข้อมูล:https://www.britannica.com/technology/detergent
                 https://dss.go.th,https://content.chemipan.net












จากตารางเราจะเห็นว่าน้ำมันแต่ละชนิดมีปริมาณของ สารตามข้อ1-9 แตกต่างกันและนั่นเป็นสาเหตุให้สบู่ธรรมชาติที่ผลิตมีคุณสมบัติไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันที่ใช้.ตารางดังกล่าวเราจะนำมาใช้ทั้งในสบู่ก้อนและสบู่เหลว.
นอกจากนั้นในการผลิตสบู่ธรรมชาติ.ปริมาณด่างที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นKOH หรือ NaOH ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันอีกด้วย. น้ำมันแต่ละชนิดมีค่า Saponification แตกต่างกัน.ค่า Saponification คือค่าอะไร.เราจะมาดูกันต่อไป.

Saponification number ในที่นี้เราจะเรียกสั้นๆว่าค่า SAP .ค่า SAP คือค่าจำนวนมิลลิกรัมของด่างซึ่งในที่นี้คือ KOH โปตัสเซียม ไฮดรอกไซต์ หรือ NaOH โซเดียม ไฮดรอกไซต์ ที่ใช้ทำปฏิกริยาอย่างสมบูรณ์กับไตรกลีเซอไรด์ ( triglycerine) ในน้ำมันหรือไขมันแล้วได้เป็นเกลือของกรดไขมันซึ่งคือ Crude soap และ กลีเซอรอล.
ค่า SAP จะถูกใช้เป็นดัชนีบอกน้ำหนักโมเลกุลของกรดไขมันที่มีอยู่ในไขมันหรือน้ำมันชนิดนั้นๆ.กลับกันถ้าน้ำมันหรือไขมันชนิดไหนมีค่า SAP ต่ำแสดงว่าน้ำหนักโมเลกุลของไตรกลีเซอไรค์ในกรดไขมันของน้ำมันนั้นๆมีน้ำหนักโมเลกุลสูง.แสดงว่าจำนวนโมเลกุลของไตรกลีเซอไรค์ต่อหน่วนน้ำหนักของน้ำมันนั้นๆมีค่าน้อย.ปริมาณของด่างที่ต้องใช้ในการไฮโเรไลซิสกับน้ำมันนั้นๆก็จะน้อยตามไปด้วย.                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   
แหล่งข้อมูล:http://www.naturalhealthblogger.net/soap-saponification-charts/
บทบาทของน้ำมันชนิดต่างๆในการผลิตสบู่ธรรมชาติ
 ในสมัยโบราณที่ยังขาดเทคโนโลยีและการเผยแพร่ความรู้.น้ำมันที่ใช้ในการผลิตสบู่ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นไขมันจากสัตว์และน้ำมันจากพืชที่นิยมใช้คือน้ำมันมะกอก.
ในน้ำมันทุกชนิดจะมีส่วนประกอบสำคัญดังต่อไปนี้.
1. Lauric acid
2. Capric acid.
3. Linoleic acid
4. Myristic acid
5. Oleic acid
6. Plamitic acid
7. Ricinolric acid
8. Stearic acid
9. Iodine number.
 จาก1-9 ข้อข้างต้นมีผลต่อคุณภาพของสบู่ธรรมชาติที่ผลิตตามตารางดังนี้
แหล่งข้อมูล: http://millersoap.com




Surfactant หรือเราจะเรียกว่า Detergent เป็นสารประกอบทางเคมีบางที่เราอาจจะเรียกว่า surface-active-agent หรือ detergent.เมื่อเรานำ Surfactant มาใส่ในสารละลายที่มีสภาวะเป็นของเหลว,surfactant จะลดแรงตึงผืวบนผิวหน้าของสารละลายนั้นๆ,ผลที่ได้จากนั้นคือทำให้ลดการกระจายและการเปียกน้ำของสารละลายที่เป็นของเหลวนั้นๆลง.ในอุตสาหกรรมการย้อมผ้าจะต้องนำ Surfactant เข้ามาช่วยในการย้อมผ้าและยังมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอมได้อีกด้วย.






Schematic diagram of the emulsion-polymerization method. Monomer molecules and free-radical …
Encyclopædia Britannica, Inc





จากรูปเราจะเห็นว่าในสารละลายมีทั้งส่วนที่ละลายในน้ำและละลายในน้ำมัน.ส่วนที่ละลายในน้ำจะถูกเรียกว่า hydrophilic และส่วนที่ละลายในน้ำมันจะถูกเรียกว่า lipophilic.ถ้าทั้งสองส่วนมีความเข้มข้นสูงก็จะถูกนำมาใช้เป็น emulsifying agent, or foaming agent.ส่วน Surfactants ที่มีส่วนที่ละลายในน้ำมันมากกว่าส่วนที่ละลายในน้ำมักถูกนำมาใช้กับยาฆ่าเชื้อโรค,เชื้อราและยาฆ่าแมลง.นอกจากนั้นแล้วsurfactants ยังถูกนำมาใช้เพื่อลดการกัดกร่อน,แยกน้ำมันออกจากน้ำและช่วยให้น้ำมันสามารถไหลไปรูพรุนในหินเพื่อให้น้ำมันสามารถพ่นออกมาเป็นละอองได้.
#https://www.britannica.com/science/surfactant

จากตอนที่แล้วเราพูดถึงข้อควรระวังในการทำสบู่ธรรมชาติ.ข้อควรระวังดังกล่าวใช้ได้ทั้งในสบู่เหลวและสบู่ก้อน.
ในบทความตอนนี้ต้องขออนุญาติข้ามตัดตอนมาที่Surfactants หรือในภาษาไทยที่เรียกว่าสารลดแรงตึงผิวกันก่อน.
สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เปนสารที่เมื่อละลายน้ำแลวจะชวยลดแรงตึงผิวของน้ํา คําว่าSurfactant มาจากคำว่าSurface active agent มีคุณลักษณะที่สาคัญ 2 สวน ไดแก สวนหัวที่เป็นHydrophitic (ชอบน้ํา) และ สวนหางที่เป็น Hydrophobic (ไมชอบน้ำแตชอบน้ำมัน) Hydrophobic (water - hating) Hydrophilic(water – loving)
หลักการทำงานของสารลดแรงตึงผิวคือ สjวนที่ชอบน้ำจะทําการจับน้ําและสวนที่ชอบน้ำมันจะจับสิ่งสกปรกพวกไขมันที่ไม่สามารถละลายในน้ำไดทําให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแลวแขวนลอยอยูในน้ำ. ในปจจุบันผลิตภัณฑทําความสะอาด กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันของทุกครอบครัว ไมวาจะเปนของใชสวนตัว เชน สบูยาสระผม ฯลฯ หรือจะเปนของใชในครัวเรือน เช่น ผงซักฟอก ,น้ำยาทำความสะอาดพื้น, น้ำยาล้างจาน ฯลฯ. ซึ่งผลิตภัณฑที่กล่าวถึงเหลานี้ล้วนมีสารลดแรงตงผิวเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น.
สารลดแรงตึงผิวแบงออกเป็น4กลุ่ม ขึ้นอยูกับประจุไฟฟาบนสวนประกอบที่ ละลายน้ํา( Hydrophilic) ไดแก
1. Anionic surfactant
3. Cationic surfactant
2. Nonionic surfactant
4. Amphoteric surfactant (Zwitterionics)
  Anionic surfactant เปนสารลดแรงตึงผิวที่ประจุไฟฟาบน hydrophilic เป็นประจุลบ สวนมากแสดง อยูในรูป carboxylate, sulfate, sulfonate หรือ phosphate สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้ใชมากในอตสาหกรรม ุ ประเภท ผงซักฟอก  , ผลิตภัณฑทำความสะอาด, น้ำยาลางจาน.ฯลฯ.โดยใช้มากถึง 49% ของสารลดแรงตึงผิวทั้งหมด.เนื่องจากสามารถใชขจัดคราบสกปรกไดดีตัวอยางเช่นSodium linear alkylbenzenesulfonate (LAS) ,Sodium alkyl sulfate (AS) ,Soium sulfosuccinates ,Sodium alkyl phosphate
  Cationic surfactant เปนสารลดแรงตึงผิวที่ประจุไฟฟาบน hydrophilic ใหประจุบวก ส่วนมากมักจะ
เป็นพวก quaternary ammonium สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้จะไมสามารถทำงานได้ในสภาวะแวดลอม ที่ เปนด่างสงู ( pH10 -11) เนี่องจากammonium salt จะมีการสูญเสียประจุบวก ทําใหเกิดการตกตะกอนได สารลดแรงตึงผิวประเภท cationicจะทําใหเกิดการระคายเคืองมากกวาสารลดแรงตึงผิวประเภท anionic นิยม ใชในพวกน้ำยาปรบผานุ่ม,ครีมนวดผม และผลิตภัณฑเกี่ยวกับการจัดแตงทรงผม ฯลฯ. เช่น
Alkyl ester ammonium salts,   Alkyltrimethylammonium salts.
 Nonionic surfactant สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้จะมีความแตกตางจากสารลดแรงตึงผิวประเภท anionic และ cationic ตรงที่เปนโมเลกุลที่ไมมีประจุโดยมีพวก polyether หรือpolyhydroxyl เปนกลุมที่แสดงคุณสมบัติ คลายพวกที่มีประจุใชมากในผงซักฟอก ,น้ำยาล้างจาน, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว เช่น. Alcohol ethoxylates ,Alcohol alkoxylates (AA).
 Amphoteric surfactant หรือZwitterions เปนสารลดแรงตึงผิวที่ประจุไฟฟ้าที่hydrophilic
สามารถใหไดทั้งประจุบวกและลบ โดยจะแสดงคุณสมบัติประเภทใดขึ้นอยูกับสภาพความเป็นกรด -ดางของ สภาวะแวดลอม ถ้าสภาวะแวดล้อมเปนดาง (pH>7) ประจุไฟฟ้าบน hydrophilicจะใหประจุลบ ถ้าสภาวะ แวดลอม เปนกรด (pH<7) ประจุไฟฟาบน hydrophilicจะใหประจบวก ุ และในสภาวะที่เปนกลางจะไม่เกิดการ ใหประจุไฟฟ้าบน  hydrophilic สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้นิยมใชในผลิตภัณฑเกี่ยวกับผิว หรือ ผม ในปจจุบันยังใชนอยกวาสารลดแรงตึงผิวประเภทอื่นๆ.
จากผลของการใชสารลดแรงตึงผิวที่เพิ่มในทุกๆป( ป 1993 เฉพาะในอเมริกาใชถึง 5×109 kg) พบผลกระทบตอสิ่งแวดลอมเพิ่มมากขึ้นเชน LASจะไปลอมจับพื้นผิวสารอินทรียตางๆที่มีในแหลงน้ำตามธรรมชาติทาให้ขบวนการยอยสลายตามธรรมชาติเกิดการชะงักงัน นอกจากน ี้LAS ยังมีอันตรายตอสัตวน ้ํา โดย LAS ทำให้มีจานวนคาร์บอนมากขึ้น,ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มขึ้นตามมา.

อ้างอิงจาก
1. Environmental and Health Assessment of Substance in Household Detergents and Cosmetic Detergent Products (online) เขาถึงไดจาก: file://G:\Detergent\1_%20Introduction,%20Danish%20 Environmental20P.
2. SDA-The Soap and Detergent Association,Chemistry (online) เขาถึงไดจาก: http//www.kcpc.usyd.edu.au/discovery/9.5.5-short/9.5.5_soapdetergent.html
3. Krister Holmberg. Surfactants and Polymers in Aqueous Solution, England,2001. ที่มา: http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/product-name/product-name-english/482- hydrophilic.html)
4.จิรสา กรงกรด..ว่าด้วยสารลดแรงตึงผิว
Liquid Soap.
        อย่างที่เคยบอกสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของTAYAWON. และสบู่ TAYAWON มีทั้งแบบสบู่ก้อนและสบู่น้ำ.ในเบื้องต้นTAYAWON เลือกที่จะเขียนเรื่องการทำสบู่เหลวก่อนสบู่ก้อน.
      ขั้นตอนการทำสบู่เหลวต้องอาศัยความอดทนมากกว่าการทำสบู่ก้อน.นอกจากความอดทนแล้ว
 ด่างที่นำมาก็แตกต่างกัน.ในสบู่เหลวด่างที่ใช้คือKOH (โปตัสเซียม ไฮดรอกไซต์).. การทำสบู่ธรรมชาตินั้นมีสิ่งหนึ่งที่คุณต้องระมัดระวังในการใช้นั่นคือด่าง.มีคำพูดอยู่วลีหนึ่ง "ถ้าไม่มีด่างก็ไม่มีสบู่". KOH เมื่อนำมาละลายในตัวทำละลายเช่นน้ำค่า pH ของสารละลาย KOHจะสูงกว่า 7.การนำมาใช้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ.KOH ที่นำมาใช้อาจเป็นเกร็ดของแข็ง,เป็นก้อน,หรือผงหยาบๆ.
                    การเก็บต้องเก็บในที่แห้งและปิดฝาให้สนิท.KOH ไวต่อความชื้นดังนั้นถ้าปิดฝาไม่สนิทโอกาสที่KOH จะละลายกลายเป็นน้ำมีสูงจึงต้องเก็บด้วยความระมัดระวัง.ให้จำไว้ว่าเมื่อนำKOH มาละลายน้ำ. KOHกับน้ำจะทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดความร้อน.ดังนั้นการละลายKOH จึงควรทำในที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกและไม่ควรทำการละลาย KOH บนโต๊ะที่ทำมาจากไม้ไม่อย่างนั้นคุณจะประสพกับโต๊ะที่มีสภาพแบบดังภาพข้างล่างนี้.
 และที่ต้องระวังอีกอย่างคือต้องเทด่างลงในน้ำอย่าเทน้ำลงในด่างเพราะคุณอาจจะพบฟองฟู่พุ่งขึ้นมาเกินควบคุมได้.
ข้อควรระวัง:
  ควรสวมแว่น,ถุงมือและปิดจมูกเพื่อป้องกันไอระเหยของด่างที่สามารถทำลายอวัยวะภายในและทำลายดวงตาอันบอบบางของคุณได้.
ถ้าด่างกระทบกับดวงตาให้รีบล้างด้วยน้ำ,ถ้าใส่ contact lenses ให้รีบถอด contact lenses ออกแล้วล้างด้วยน้ำที่ไหลต่อเนื่องอย่าง 20 นาทีแล้วรีบไปพบแพทย์ในทันที.ถ้ากลืนลงไปให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วรีบดื่มน้ำตามลงไปอย่างน้อย 2 แก้วเต็มๆก่อนไปพบแพทย์. ถ้ามาสัมผัสกับผิวก็รีบล้างออกด้วยน้ำอย่างน้อย 15 นาทีแล้วจึงล้างอีกครั้งด้วยสบู่และน้ำก่อนไปพบแพทย์. แม้กระทั่งในระหว่างการทำปฏิกิริยาของน้ำด่างกับน้ำมันหรือไขมันก็ยังต้องระมัดระวัง.ในระหว่างการทำสบู่ควรให้อยู่ห่างจากเด็กๆและสัตว์เลี้ยง.เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุที่คุณคาดไม่ถึง.



                                        ยากที่สุดไม่ใช่การเขียนบทความในส่วนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ TAYAWON แต่ที่ยากที่สุดคือการทำ BLOG อย่างไรให้สวยน่าเข้าชมต่างหาก.หลายวันมานี้ผู้เขียนพยายามค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับการทำBLOG .ต่างๆนานา.มากมาย.แต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้มาก.แต่ถ้ายังพยายามอยู่ไม่สิ้นสุดวันหนึ่งก็ต้องถึงปลายทางแห่งจุดหมาย.ต่อให้ยากสักเพียงไหนถ้าพยายาม.องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองกว่าจะตรัสรู้ก็ใช้เวลาเนิ่นนานไม่ใช่น้อยเลย.

                                              วันนี้พาออกนอกเรื่องที่อยู่ในเรื่องเพื่อความสบายใจของผู้เขียนเอง .ต้นกำเนิดของTAYAWON เป็นจังหวัดสงขลา.คนไทยน้อยคนที่จะไม่รู้จักจังหวัดสงขลาแต่น้อยคนที่จะได้ไป.สงขลาเป็นเมืองที่มีทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นน้ำตก,ภูเขา,ทะเลและที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้เลยคือหาดทรายสีขาวนวลที่แผ่ทอดยาวเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล.นี่จึงเป็นที่มาของแหลมสมิหรา.ผู้เขียนไม่ได้เกิดที่นั่นแต่พ่อ,ปู่และย่าของผู้เขียนอาศัยอยู่ที่นี่.สายสกุลของพ่อมาจากเมืองไชยา.เล่ากันว่าคุณทวดของผู้เขียนคือหนึ่งในสายสกุลวิชัยดิษฐ์ที่เป็นผู้ปกครองเมืองไชยาในสมัยก่อน.ก่อนที่คุณทวดจะอพยพนั่งช้างมากับบุตรชายคนเดียวคือคุณปู่ของผู้เขียนมาตั้งรกรากที่สงขลาโดยมีอาชีพเป็นทนายความ.ถ้าเอ่ยถึงแหลมสมิหราก็ต้องมีนางเงือก.ใครไปที่นั่นแล้วไม่ได้ถ่ายรูปกับนางถือว่ายังไม่ได้ไป.สงขลาเป็นเมืองที่มีความงดงามตราตรึงในความรู้สึกของใครหลายๆคน.จนกระทั่งมีการนำบรรยากาศของเมืองสงขลาไปใช้ในนวนิยายดังเรื่องดรรชนีนาง.นอกจากความงดงามแล้วสงขลายังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ.ในปัจจุบันมีฐานที่ตั้งของกองทัพเรือตั้งอยู่ ณ ริมหาดนี่เอง.ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. ญี่ปุ่นยาตราทัพเข้ามาโดยยกพลขึ้นบกที่บริเวณชายหาดแหลมสมิหรา.ปู่,พ่อและเพื่อนๆของพ่อเล่าให้ฟังว่า.ก่อนญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบก.มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาปักหลักอยู่ที่สงขลาและได้เช่าตึกที่อยู่ไม่ห่างจากบ้านคุณปู่.มีอาชีพเป็นหมอรักษาทุกโรคแม้กระทั่งฟันผุ.โดยมีปู่ของผู้เขียนเป็นเพื่อนสนิท.สมัยนั้นเรียกได้ว่าปู่ของผู้เขียนเป็นคนมีฐานะทีเดียวเพราะคุณทวดมีรถบรรทุกสินค้าเดินทางไปรับสินค้าจากสิงค์โปร์และมาเลเซียมาขายและนำสินค้าจากไทยส่งไปที่นั่น.ในตอนเย็นของทุกวันเพื่อนชาวญี่ปุ่นของปู่จะชักชวนคุณปู่ไปที่แหลมสมิหรา.เมื่อไปถึงหลังวางสัมภาระที่นำมาวางบนชายหาดแล้วสิ่งแรกที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นทำคือเดินลงทะเลพร้อมกับไม่ท่อนเล็กๆไปวัดระดับน้ำทะเลในแต่ละช่วงของทะเลแล้วกลับมาบันทึกระดับน้ำพร้อมกับตารางเวลา.ปู่ได้แต่นึกฉงน.ในตอนนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นแล้วแต่ยังมาไม่ถึงประเทศไทย.คืนหนึ่งในวันศุกร์.ขณะที่ฝนกระหน่ำตกลงมาไม่ขาดสาย. ณ สถานกงสุลญี่ปุ่น.ข้าราชการผู้ใหญ่ของไทยทุกคนถูกเชื้อเชิญให้ไปรวมตัวที่นั่นเพื่อดูภาพยนตร์.จบลงสายฝนก็ยังกระหน่ำตกทุกคนพร้อมใจกันกลับบ้านในนั้นรวมทั้งคุณปู่ของผู้เขียนด้วย..เวลาผ่านไปเกือบเที่ยงคืน.ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและเกิดการปะทะกัน.เลือดนองดั่งสายธารมีการบาดเจ็บล้มตายของทหารทั้ง 2 ฝ่าย . ศพผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บถูกลำเลียงไปที่อาคารเรียนในโรงเรียนมหาวชิราวุธ. ผู้ที่บาดเจ็บก็ได้รับการรักษา,ผู้เสียชีวิตก็ถูกนำร่างมาเก็บไว้ที่นั่นเป็นที่มาในเวลาต่อมาว่าทำไมอาคารเรียนหลังนั้นจึงถูกใช้เป็นห้องเรียนวิชาศีลธรรม. หลังจากรัฐบาลไทยประกาศยอมให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น.และวันนั้นเองที่เพื่อนชาวญี่ปุ่นของคุณปู่ก็มาหาคุณปู่ในเครื่องแบบทหารเต็มยศพร้อมกับทหารญี่ปุ่นเดินเต็มเมือง.บ้านทุกหลังถูกบุกเข้าไปตรวจค้นยกเว้นบ้านของคุณปู่.เพื่อนทหารญี่ปุ่นชักชวนปู่ให้ไปสิงคโปร์กับเขา.ปู่รับปากแต่เมื่อถึงเวลาคุณปู่ของผู้เขียนกระโดดหนีออกทางหลังบ้าน.หลังจากนั้นปู่เล่าให้ฟังว่าก็ไม่ทราบข่าวคราวของเขาอีกเลย..ในภายหลังคุณปู่เล่าให้ฟังว่าสิ่งที่คุณปู่สงสัยว่าทำไมทำไม..เฉลยออกมา.เช่นการวัดระดับน้ำทะเลในแต่ละช่วงของทะเลและแต่ละช่วงของเวลาก็เพื่อการยกพลขึ้นบก.การเชื้อเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปรวมตัวกันที่สถานกงสุลก็เพื่อให้เวลาประจวบเหมาะและล้อมจับพร้อมๆกันเพื่อลดการต่อสู้และเสียเลือดเนื้อกำลังพล.แต่ปัจจัยธรรมชาติที่นึกไม่ถึงคือฝนที่กระหน่ำตกทำให้การยกพลขึ้นบกล่าช้าไปกว่าที่กำหนด.ทุกคนกลับบ้านกันหมดแล้ว.จึงเกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทยและญี่ปุ่น.จนรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.ยอมให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่าน.สมัยสงคราม
ทุกอย่างยากไปหมดกางเกงนักเรียนของพ่อยังต้องใช้ผ้าใบมาตัดเป็นกางเกง.กระดาษก็เก็บเอาจากที่ต่างๆมาใช้.ปู่ใช่นำมันมะพร้าวเติมแทนน้ำมันเบนซิน.คนไทยบ้านอื่นๆอาหารการกินขาดแคลนยกเว้นที่บ้าน.ปู้่ได้รับของฝากเสมอๆ.ปู่บอกว่าคนไทยชอบแอบเข้าไปขโมยน้ำมันเมื่อถูกจับได้ก็ถูกจับกรอกด้วยน้ำมันแต่คนไทยก็ไม่เคยเข็ดหลาบแต่เห็นเป็นเรื่องสนุก. ทหารญี่ปุ่นคงคิดถึงบ้านจึงสอนคนไทยให้ทำขนมมีหน้าตาคล้ายขนมโมจิของญี่ปุ่นแต่คนสงขลาจะเรียกว่าขนมม่อฉี่.เมื่ออเมริกากระโดดร่วมสงครามหลังญี่ปุ่นโจมตีเพริล์ฮาร์เบอร์.สงขลากลายเป็นเป้าโจมตีของกองทัพสัมพันธมิตร.มีเครื่องบินบินเข้ามาวางระเบิดฐานที่ตั้งทัพของญี่ปุ่นที่สงขลา.สงครามไม่เคยให้คุณกับใคร.ในเรื่องราวมีแต่ความโศกสลดและความพลัดพราก.
นอกจากแหลมสมิหราแล้วสงขลายังมีทะเลน้อย.หรือก็คือทะเลสาปสงขลานั่นเองพื้นที่ทะเลสาปสงขลากินพื้นที่ไปถึงจังหวัดพัทลุง.และที่นี่นี่เองเป็นที่มาของควายน้ำ.

คนทำสบู่


                                       มนุษย์เราต่อให้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งขนาดไหนแต่ถ้าไม่รู้จักนอบน้อมถ่อมตนก็ยากจะได้รับความรู้ใหม่ๆ.เพราะคิดว่าตัวเองเก่งกาจหาคนเทียมทานไม่มีแล้ว.แต่ถ้านึกได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน.คนที่คิดได้แบบนั้นหากพลาดพลั้งไปก็อาจพบหนทางแก้ไขได้โดยไม่รู้สึกว่านั่นเป็นเรื่องน่าอับอาย.แต่ก็ไม่แน่เสมอไป.คนทำสบู่Handmade ก็เช่นกันต้องหมั่นศึกษาคอยเติมความรู้และค้นคว้าสาร Additive ใหม่ๆที่มีประโยชน์กับผิวพรรณมาเติมในผลิตภัณฑ์ของเรา.ตั้งแต่ปี พศ.2514 เรื่อยมาจนถึงปีนี้คือปี พ.ศ.2516 .เรียกได้ว่าเราเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงก็คงไม่ผิดนัก.ทุกอย่างยากไปหมด.คนตกงาน.เด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบทยอยออกมา.ตลาดงานว่างเปล่าไม่มีพื้นที่ให้ลง.ทุกวันนี้ยอมรับว่าการเมืองส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน..เพราะประเทศไทยไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง.เราปลูกข้าว,ปลูกยางพารา,ปลูกปาล์ม,และอีกมากมาย.การบริโภคในประเทศไม่สามารถรองรับปริมาณที่เราผลิตได้เราจำเป็นต้องหาตลาดภายนอกเพื่อรองรับสินค้าของเรา. TAYAWON ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน. ประเทศไทยมีพืชสมุนไพรจำนวนมากที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและผิวพรรณ.แต่เราจะทำอย่างไรเพื่อเดินไปให้ถึงที่นั้น. เป็นเครื่องหมายคำถามที่ต้องการคำตอบ.ภาพที่นำมาขึ้นหน้าโพสต์วันนี้เป็นสบู่เหลวและสบู่รังไหม.อย่างที่เคยเล่าให้ฟังมาข้างต้นว่ารังไหมมีคุณสมบัติอย่างไร TAYAWON จึงลองทำสบู่Handmade รังไหมขึ้นมา.เริ่มต้นด้วยการใช้เอง. บอกกับตัวเองนับแต่สัมผัสแรกว่าชอบมากและมาก.นักวิชาการส่วนใหญ่มักตกม้าตายที่การตลาด..ประโยคนี้เราพูดเอง.
                        ก่อนจะมาเป็น TAYAWON ในวันนี้ใช้เวลาหลายปีทั้งฐานความรู้เดิม,อ่านและทำและใช้เอง  What ,Why,When,How ค้นคว้า,ถามและหาคำตอบ.ทดลองทำซ้ำแล้วซ้ำอีก. Blog นี้เราทำเพื่ออยากให้ใครก็ตามที่เข้ามาได้เห็นได้พบว่า.คนไทยก็มีความสามารถมิใช่ว่าจะต้องเป็นสินค้าโรงงานเท่านั้นที่ขายได้และเราจะก้าวต่อไปเพื่อเป็น Fresh Handmade Cosmetics สัญชาติไทยที่เน้นคุณภาพ.และสินค้าของเราไม่มีวัตถุดิบที่ได้จากการพรากชีวิตสัตว์แม้เราจะเป็นโยเกิร์ตนมแพะ.เราใช้น้ำนมจากแพะมาทำโยเกิร์ต


สบู่ใส (Transparent Soap)


                                                สบู่ใสแบบมองด้านหนึ่งทะลุไปเห็นอีกด้านหนึ่งจากhttp://curious-soapmaker.com/how-to-make-transparent-soap.html.นี่เป็น URL ของwebsite ชื่อ curious soapmaker ในความคิดของเราเรียกแกว่าผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำสบู่ใส.ใครสนใจทำสบู่ใสก็ไปหาอ่านกันได้แถมเจ้าของ website ยังทำเป็นหนังสือ.ใครสนใจก็หาซื้อมาอ่านได้เลย.ผู้เขียนเองชอบสบู่ใส.เพราะเวลานึกถึงสบู่ใสจะนึกถึงสบู่สัญชาติผู้ดีอังกฤษยี่ห้อ"Pear"
เวลาเห็นสบู่ "Pear". ความหลังมันลอยอ้อยอิ้งมาให้เห็นเลยละ..เราจะนึกถึงสายฝนที่กำลังตกพร่ำลงมาพร้อมกับใบหน้าของพ่อ. พ่อเราชอบใช้สบู่ " Pear" ถึงเราไม่ใช่ผู้ดีอังกฤษเราก็เป็นผู้ดีไทยเนอะ. เราเกิดที่ภาคใต้ใช้ชีวิตที่กำลังเติบโตที่ภาคใต้.ริมแม่น้ำปัตตานี.ฝนตกเป็นเรื่องปกติถ้าฝนไม่ตกซิจึงจะเรียกว่าผิดปกติ.เวลาอาบน้ำกับสบู่ "Pear"พร้อมกับเสียงฝนตกจั้กๆๆๆ..ฮาฮาฮา...เรากำลังจะบอกว่า "อย่าลืมฉัน" . อายุมากขึ้นก็เกิดความอยากขุดคุ้ย.."อ้าวแย่แล้ว Pear สุดที่รักของเราใช้น้ำมันหมูเป็นวัตถุดิบ.บังเอิญเราเป็นคนจำพวกอ่อนไหวง่าย.เราเดินเมินหนี Pear จนล่าสุดมาทราบว่า Pear ปรับปรุงสูตรและไม่มีการนำไขมันจากสัตว์มาใช้."เออ โล่งใจ" ฉันแอบถอนหายใจแล้วก็หยิบสบู่ Pear ใส่ตะกร้าพลางก็คิดถึงพ่อ. น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งมีต้นเดียว  ..คงมีคนแอบค่อนแคะเรา.กลับเข้าเรื่องต่อของ curious soap เจ้าของ website เธอชื่อ Evik 
เธอกินมังสวิรัติและเริ่มโดยการทำสบู่ใช้องที่บ้านเมื่อ 7 ปีก่อน..แต่ถ้าถึงปีนี้ก็ไม่ทราบว่ากี่ปีแล้วนะเราบอกก่อน.ความเป็นมาของเธอก่อนจะมาเป็น SOAPMAKER มันเหมือนกับฉันเดะๆเลย..เราเล่าต่อนะ.เธอบอกว่าการทำสบู่ใสไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่ายที่สำคัญควรเคยผ่านประสบการณ์การทำสบู่ในแบบ Hot Process Soap. เพราะการทำสบู่ใสควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์Hot Process Soap. หลังสบู่ ผ่าน Saponification reaction เรียบร้อยแล้วสิ่งที่ต้องใช้คือ Ethanol และ Glycerin.ทั้ง 2 อย่างใช้เป็นตัวทำละลายPaste ของสบู่.ขั้นตอนนี่สำคัญเหมือนกันเพราะ ethanol เป็นalcohol ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเพราะอาจลุกไฟติดโชนขึ้นมาได้ง่าย..หลังจากนั้นก็ค่อยเติมน้ำหวานแต่น้ำหวานที่ว่านี้เธอแนะนำว่าควรใช้น้ำกลั่น.เพราะถ้าเป็นน้ำประปาธรรมดาอาจมีแร่ธาตุไม่พึงประสงค์ที่ทำให้สบู่ขุ่นไม่ใสอย่างที่เราอยากให้เป็น.
              เราเองถึงจะไม่ขนาดมังสวิรัติแต่บางครั้งก็มีความสะอิดสะเอียนกับเนื้อสัตว์เหมือนเธอ. เราเคยได้ยินเสียงส่งเสียงกรีดร้องถึงตอนนี้ก็ยังก้องอยู่ในหัวเลย..น้ำตากับแววในดวงตาของวัวอีกละ..พูดถึงเนื้อวัวนี่เราเลิกขาดไปเลยตั้งแต่พ่อป่วย..เนื้อหมูพอมีกระเซนกระสายบ้าง..นานน่านถึงจะกินเลี่ยงได้เลี่ยง. เราคิดว่า " มันไม่แฟร์ที่จะเอาชีวิตคนอื่นมาเลี้ยงชีวิตตัวเอง" ผลิตภัณฑ์ของเราจึงไม่มีวัตถุดิบที่ได้มาจากการฆ่าสัตว์.เราชอบคนแบบเธอ Evik.

สบู่ทยวรรธ์น










ผลิตภัณฑ์ตัวแรกของTAYAWON คือสบู่โยเกิร์ตนมแพะผสมรังไหม. กระบวนการผลิตสบู่เป็นแบบดั้งเดิม "Saponification reaction" และใช้ความร้อนช่วยเร่งปฏิกิริยาอย่างที่เรียกกันว่าhot process soap.ดังนั้นสบู่ของเราจึงไม่ต้องใช้เวลาบ่มนาน.น้ำมันที่เรานำมาใช้เป็นน้ำมันที่ได้มาจากต้นพืช.ไม่มีการใช้สารทำฟองเพราะเราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม. แม้จะมีการบอกว่าสารทำฟองไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม.แต่หากมีปริมาณสารทำฟองสะสมตกค้างอยู่ในธรรมชาติมากสิ่งแวดล้อมก็อาจถูกทำลาย.
เบื้องต้นเรามีสบู่อยู่ 5 ชนิด
1. โคลนจากทะเลสาปเดดซี (Dead sea mud )
2. ผสมเนื้อ อโวคาโด ( Avocado)
3. ผสมเนื้อมะม่วง 
4. ผสมเนื้อว่านหางจระเข้
5. ผสมสารสกัดจากขิง
ความต่างของเราอยู่ที่เราทำโยเกิร์ตจากนมแพะมาใช้เองและในการผสมในเนื้อสบู่เรายังเพิ่มWhey protein ที่มีอยู่แล้วในการผลิตโยเกิร์ตลงไปด้วย. 
 Whey protein ในแง่ของเครื่องสำอาง
30 ปีก่อนคริสต์กาล. มีการบันทึกว่าพระนางคลีโอพัตรามักจะนอนแช่อยู่ในอ่างน้ำนมทำให้ผิวพรรณของพระนางผ่องใสเป็นที่หมายปองของทั้งจูเลียต ซีซาร์ และมาร์ค แอนโทนี ขุนศึกแห่งอาณาจักรโรมัน.;วิตามินต่างๆ,กรดอมิโนและแร่ธาตุที่พบใน Whey protein ทำให้ Whey protein เปรียบเสมือนอาหารสำหรับผิวทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น,ลดอาการแสบแดงของผิวหลังจากโดนแดดเผา.นอกจากนั้น Whey protein ยังช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ " ไทโรซิเนส " เอนไซม์ที่ทำให้ผิวผลิตเม็ดสีทำให้ผิวคล้ำเสีย.




                  TAYAWON SOAP เป็นสบู่ที่มีปริมาณ ของกรดน้ำนมอย่างน้อย 12 % เพื่อเพิ่มความสามารถในการบำรุงผิวลงถึงชั้นในของผิว. กระตุ้นให้ร่างกายสร้างผิวชั้น collagen และ elastin  ซึ่งเป็นชั้นของผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับริ้วรอยโดยตรง.ค่าสมดุลความเป็นกรด-ด่างของผิว หรือค่า pH เป็นกลไกหลัก
ค่าสมดุลความเป็นกรด-ด่างของผิวเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมภายนอกเช่น มลภาวะ อุณหภูมิ และสารเคมี เพราะฉนั้นผลิตภัณฑ์สำหรับผิวจึงจำเป็นที่จะรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างของผิว เพื่อเป็นเกราะปกป้องผิวจากปัจจัยทำร้ายผิวภายนอก.
 * ค่า pH  ( Potential of Hydrogen ion)บนผิว? เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+แนวคิดของพีเอชถูกนำเสนอโดย นักเคมีชาวเดนมาร์ก ชื่อ โซเรนเซ็น ที่คาลเบิรก์แลบอริทอรี่ ในปี ค.ศ. 1909 และถูกปรับปรุงเป็นการวัดค่าพีเอชแบบสมัยใหม่ในปี ค.ศ. 1924.
ผิวหนังที่ติดเชื้อ

                                                
               โดยธรรมชาติผิวหนังของมนุษย์จะมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆโดยค่าความเป็นกรดและด่างจะอยู่ที่ประมาณ 4.7 และ 5.75 และยังมีความแตกต่างกันตามเพศ อายุ และส่วนต่างๆของร่างกาย.สิ่งที่มีผลกระทบต่อค่าความเป็นกรดด่างของผิว เช่น การเปลี่ยนแปลงของอากาศ,ทำความสะอาดผิวบ่อยเกินไปและเครื่องสำอาง ฯลฯ.
              ผิวหนังของผู้ชายจะมีค่าเป็นกรดมากว่าผู้หญิงเพราะปริมาณไขมันของผู้ชายจะมีมากกว่าผู้หญิง.ส่วนในเด็กทารกค่าความเป็นกรดด่างของผิวจะอยู่ที่ 5.5-6.5.

สารพีเอช
กรดสารพิษจากเหมืองร้าง
-3.6 - 1.0
กรดจากแบตเตอรี
-0.5
กรดในกระเพาะอาหาร
1.5 - 2.0
เลมอน
2.4
โค้ก
2.5
น้ำส้มสายชู
2.9
ส้ม หรือ แอปเปิล
3.5
เบียร์
4.5
ฝนกรด
< 5.0
กาแฟ
5.0
ชา
5.5
นม
6.5
น้ำบริสุทธิ์
7.0
น้ำลายมนุษย์
6.5 - 7.4
เลือด
7.34 - 7.45
น้ำทะเล
8.0
สบู่ล้างมือ
9.0 - 10.0
แอมโมเนีย (ยาสามัญประจำบ้าน)
11.5
น้ำยาปรับผ้านุ่ม
12.5
 โซดาไฟ
13.5

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/wiki/พีเอช_(เคมี)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Featured post

Handmade Soap TAYAWON คุณสมบัติของน้ำมัน ว่าด้วย Lauric Acid

น้ำมันที่ใช้ในการทำสบู่ตามปฏิกริยา "Saponification Reaction "มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่ปริมาณของสารที่ส่งผลต่อค...

top social


Home Ads

designcart

Advertisement

Text Widget

About me

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Powered By Blogger

Labels

Instagram

Facebook

Ads

Ad Banner
Responsive Ads Here

Blogroll

recentposts

Instagram