จากตอนที่แล้วเราพูดถึงข้อควรระวังในการทำสบู่ธรรมชาติ.ข้อควรระวังดังกล่าวใช้ได้ทั้งในสบู่เหลวและสบู่ก้อน.
ในบทความตอนนี้ต้องขออนุญาติข้ามตัดตอนมาที่Surfactants หรือในภาษาไทยที่เรียกว่าสารลดแรงตึงผิวกันก่อน.
สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เปนสารที่เมื่อละลายน้ำแลวจะชวยลดแรงตึงผิวของน้ํา คําว่าSurfactant มาจากคำว่าSurface active agent มีคุณลักษณะที่สาคัญ 2 สวน ไดแก สวนหัวที่เป็นHydrophitic (ชอบน้ํา) และ สวนหางที่เป็น Hydrophobic (ไมชอบน้ำแตชอบน้ำมัน) Hydrophobic (water - hating) Hydrophilic(water – loving)
หลักการทำงานของสารลดแรงตึงผิวคือ สjวนที่ชอบน้ำจะทําการจับน้ําและสวนที่ชอบน้ำมันจะจับสิ่งสกปรกพวกไขมันที่ไม่สามารถละลายในน้ำไดทําให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแลวแขวนลอยอยูในน้ำ. ในปจจุบันผลิตภัณฑทําความสะอาด กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันของทุกครอบครัว ไมวาจะเปนของใชสวนตัว เชน สบูยาสระผม ฯลฯ หรือจะเปนของใชในครัวเรือน เช่น ผงซักฟอก ,น้ำยาทำความสะอาดพื้น, น้ำยาล้างจาน ฯลฯ. ซึ่งผลิตภัณฑที่กล่าวถึงเหลานี้ล้วนมีสารลดแรงตงผิวเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น.
สารลดแรงตึงผิวแบงออกเป็น4กลุ่ม ขึ้นอยูกับประจุไฟฟาบนสวนประกอบที่ ละลายน้ํา( Hydrophilic) ไดแก
1. Anionic surfactant
3. Cationic surfactant
2. Nonionic surfactant
4. Amphoteric surfactant (Zwitterionics)
  Anionic surfactant เปนสารลดแรงตึงผิวที่ประจุไฟฟาบน hydrophilic เป็นประจุลบ สวนมากแสดง อยูในรูป carboxylate, sulfate, sulfonate หรือ phosphate สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้ใชมากในอตสาหกรรม ุ ประเภท ผงซักฟอก  , ผลิตภัณฑทำความสะอาด, น้ำยาลางจาน.ฯลฯ.โดยใช้มากถึง 49% ของสารลดแรงตึงผิวทั้งหมด.เนื่องจากสามารถใชขจัดคราบสกปรกไดดีตัวอยางเช่นSodium linear alkylbenzenesulfonate (LAS) ,Sodium alkyl sulfate (AS) ,Soium sulfosuccinates ,Sodium alkyl phosphate
  Cationic surfactant เปนสารลดแรงตึงผิวที่ประจุไฟฟาบน hydrophilic ใหประจุบวก ส่วนมากมักจะ
เป็นพวก quaternary ammonium สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้จะไมสามารถทำงานได้ในสภาวะแวดลอม ที่ เปนด่างสงู ( pH10 -11) เนี่องจากammonium salt จะมีการสูญเสียประจุบวก ทําใหเกิดการตกตะกอนได สารลดแรงตึงผิวประเภท cationicจะทําใหเกิดการระคายเคืองมากกวาสารลดแรงตึงผิวประเภท anionic นิยม ใชในพวกน้ำยาปรบผานุ่ม,ครีมนวดผม และผลิตภัณฑเกี่ยวกับการจัดแตงทรงผม ฯลฯ. เช่น
Alkyl ester ammonium salts,   Alkyltrimethylammonium salts.
 Nonionic surfactant สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้จะมีความแตกตางจากสารลดแรงตึงผิวประเภท anionic และ cationic ตรงที่เปนโมเลกุลที่ไมมีประจุโดยมีพวก polyether หรือpolyhydroxyl เปนกลุมที่แสดงคุณสมบัติ คลายพวกที่มีประจุใชมากในผงซักฟอก ,น้ำยาล้างจาน, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว เช่น. Alcohol ethoxylates ,Alcohol alkoxylates (AA).
 Amphoteric surfactant หรือZwitterions เปนสารลดแรงตึงผิวที่ประจุไฟฟ้าที่hydrophilic
สามารถใหไดทั้งประจุบวกและลบ โดยจะแสดงคุณสมบัติประเภทใดขึ้นอยูกับสภาพความเป็นกรด -ดางของ สภาวะแวดลอม ถ้าสภาวะแวดล้อมเปนดาง (pH>7) ประจุไฟฟ้าบน hydrophilicจะใหประจุลบ ถ้าสภาวะ แวดลอม เปนกรด (pH<7) ประจุไฟฟาบน hydrophilicจะใหประจบวก ุ และในสภาวะที่เปนกลางจะไม่เกิดการ ใหประจุไฟฟ้าบน  hydrophilic สารลดแรงตึงผิวประเภทนี้นิยมใชในผลิตภัณฑเกี่ยวกับผิว หรือ ผม ในปจจุบันยังใชนอยกวาสารลดแรงตึงผิวประเภทอื่นๆ.
จากผลของการใชสารลดแรงตึงผิวที่เพิ่มในทุกๆป( ป 1993 เฉพาะในอเมริกาใชถึง 5×109 kg) พบผลกระทบตอสิ่งแวดลอมเพิ่มมากขึ้นเชน LASจะไปลอมจับพื้นผิวสารอินทรียตางๆที่มีในแหลงน้ำตามธรรมชาติทาให้ขบวนการยอยสลายตามธรรมชาติเกิดการชะงักงัน นอกจากน ี้LAS ยังมีอันตรายตอสัตวน ้ํา โดย LAS ทำให้มีจานวนคาร์บอนมากขึ้น,ความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มขึ้นตามมา.

อ้างอิงจาก
1. Environmental and Health Assessment of Substance in Household Detergents and Cosmetic Detergent Products (online) เขาถึงไดจาก: file://G:\Detergent\1_%20Introduction,%20Danish%20 Environmental20P.
2. SDA-The Soap and Detergent Association,Chemistry (online) เขาถึงไดจาก: http//www.kcpc.usyd.edu.au/discovery/9.5.5-short/9.5.5_soapdetergent.html
3. Krister Holmberg. Surfactants and Polymers in Aqueous Solution, England,2001. ที่มา: http://www.pharm.su.ac.th/cheminlife/cms/index.php/product-name/product-name-english/482- hydrophilic.html)
4.จิรสา กรงกรด..ว่าด้วยสารลดแรงตึงผิว
Liquid Soap.
        อย่างที่เคยบอกสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของTAYAWON. และสบู่ TAYAWON มีทั้งแบบสบู่ก้อนและสบู่น้ำ.ในเบื้องต้นTAYAWON เลือกที่จะเขียนเรื่องการทำสบู่เหลวก่อนสบู่ก้อน.
      ขั้นตอนการทำสบู่เหลวต้องอาศัยความอดทนมากกว่าการทำสบู่ก้อน.นอกจากความอดทนแล้ว
 ด่างที่นำมาก็แตกต่างกัน.ในสบู่เหลวด่างที่ใช้คือKOH (โปตัสเซียม ไฮดรอกไซต์).. การทำสบู่ธรรมชาตินั้นมีสิ่งหนึ่งที่คุณต้องระมัดระวังในการใช้นั่นคือด่าง.มีคำพูดอยู่วลีหนึ่ง "ถ้าไม่มีด่างก็ไม่มีสบู่". KOH เมื่อนำมาละลายในตัวทำละลายเช่นน้ำค่า pH ของสารละลาย KOHจะสูงกว่า 7.การนำมาใช้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ.KOH ที่นำมาใช้อาจเป็นเกร็ดของแข็ง,เป็นก้อน,หรือผงหยาบๆ.
                    การเก็บต้องเก็บในที่แห้งและปิดฝาให้สนิท.KOH ไวต่อความชื้นดังนั้นถ้าปิดฝาไม่สนิทโอกาสที่KOH จะละลายกลายเป็นน้ำมีสูงจึงต้องเก็บด้วยความระมัดระวัง.ให้จำไว้ว่าเมื่อนำKOH มาละลายน้ำ. KOHกับน้ำจะทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดความร้อน.ดังนั้นการละลายKOH จึงควรทำในที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกและไม่ควรทำการละลาย KOH บนโต๊ะที่ทำมาจากไม้ไม่อย่างนั้นคุณจะประสพกับโต๊ะที่มีสภาพแบบดังภาพข้างล่างนี้.
 และที่ต้องระวังอีกอย่างคือต้องเทด่างลงในน้ำอย่าเทน้ำลงในด่างเพราะคุณอาจจะพบฟองฟู่พุ่งขึ้นมาเกินควบคุมได้.
ข้อควรระวัง:
  ควรสวมแว่น,ถุงมือและปิดจมูกเพื่อป้องกันไอระเหยของด่างที่สามารถทำลายอวัยวะภายในและทำลายดวงตาอันบอบบางของคุณได้.
ถ้าด่างกระทบกับดวงตาให้รีบล้างด้วยน้ำ,ถ้าใส่ contact lenses ให้รีบถอด contact lenses ออกแล้วล้างด้วยน้ำที่ไหลต่อเนื่องอย่าง 20 นาทีแล้วรีบไปพบแพทย์ในทันที.ถ้ากลืนลงไปให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วรีบดื่มน้ำตามลงไปอย่างน้อย 2 แก้วเต็มๆก่อนไปพบแพทย์. ถ้ามาสัมผัสกับผิวก็รีบล้างออกด้วยน้ำอย่างน้อย 15 นาทีแล้วจึงล้างอีกครั้งด้วยสบู่และน้ำก่อนไปพบแพทย์. แม้กระทั่งในระหว่างการทำปฏิกิริยาของน้ำด่างกับน้ำมันหรือไขมันก็ยังต้องระมัดระวัง.ในระหว่างการทำสบู่ควรให้อยู่ห่างจากเด็กๆและสัตว์เลี้ยง.เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุที่คุณคาดไม่ถึง.



ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Featured post

Handmade Soap TAYAWON คุณสมบัติของน้ำมัน ว่าด้วย Lauric Acid

น้ำมันที่ใช้ในการทำสบู่ตามปฏิกริยา "Saponification Reaction "มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่ปริมาณของสารที่ส่งผลต่อค...

top social


Home Ads

designcart

Advertisement

Text Widget

About me

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Powered By Blogger

Labels

Instagram

Facebook

Ads

Ad Banner
Responsive Ads Here

Blogroll

recentposts

Instagram