น้ำมันที่ใช้ในการทำสบู่ตามปฏิกริยา "Saponification Reaction "มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่ปริมาณของสารที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของสบู่.ตามที่เคยกล่าวมาในตอนต้นๆที่กล่าวถึงกรดไขมันชนิดต่างๆเช่น Lauric acid ,Linoleic acid ,Myristic acid.,i.e,.ทั้งสิ้นมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน.
ดังต่อไปนี้.
1.Lauric Acid.

Lauric Acid มีสูตรโมเลกุลดังนี้C12H24O2

โครงสร้างโมเลกุลของLauric Acid
Lauric Acid เป็นกรดไขมันแบบอิ่มตัวที่พบมากในน้ำมันมะพร้าว,น้ำมันแก่นในปาล์มและยังพบมากอีกในน้ำนมของมนุษย์ (6.2% ), นมวัว(2.9%), และนมแพะ(3.1%).
นอกจากนั้นเรายังพบlauric Acid ใน

# แหล่งข้อมูล:https://en.wikipedia.org/wiki/Lauric_acid
น้ำมันLaurel ที่ประกอบด้วย Lauric Acid
Luaric Acid ถูกนำมาใช้มากกับผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงผิวเพราะสามารถคงความชุ่มชื้น,คงความอ่อนนุ่มลดความหยาบกระด้าง,ยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและยังช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของสิว.นอกจากนั้นLauric Acid ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของผิว,ขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไปและผิวยังสามารถดูดซับLauric Acid ลงสู่ผิวได้รวดเร็วมาก.
สำหรับความปลอดภัยและผลข้างเคียงจากการใช้ Lauric Acid นั้นมีมาตรฐานการรับรองทั้งจาก CIR และ FDAในเครื่องสำอาง.และในวารสารงานวิจัย Journal of the American College of Toxicologyที่ตีพิมพ์ในปี 1987 ได้มีการกล่าวถึงLauric Acid ใน CosmeticDatabase and the Environmental Working Group ในด้านความปลอดภัยในการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมว่า Lauric Acid มีความปลอดภัยอยู่ที่ 68%.และยังถูกนำมาใช้ผสมเป็นอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนักอีกด้วย.

Lairic Acid ในสบู่ธรรมชาติช่วยให้สบู่คงรูปแข็ง,เพิ่มคุณสมบัติในการทำความสะอาดและให้ฟองที่นุ่มและเบา.




แปลและเรียบเรียงใหม่:https://www.truthinaging.com/ingredients/lauric-acid

ตามที่เคยแยกชนิดของสารลดแรงตึงผิวหรือที่เรียกกันว่า Surfactant ออกเป็น 4ประเภท. Surfactant เมื่ออยู่ในสารละลายผสมจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวที่เป็น Hydrophilic ส่วนนี้จะชอบน้ำและอีกส่วนคือ Hydrophobic ส่วนนี้จะชอบน้ำมัน.
ตามรูป

หลักการทำงานของ Surfactant
        ส่วน Hydrophobic ซึ่งเป็นส่วนที่ชอบน้ำจะจับกับโมเลกุลของน้ำในขณะที่อีกส่วนคือ Hydrophobic ซึ่งเป็นส่วนที่ชอบน้ำมันก็จะหันไปจับกับโมเลกุลของน้ำมัน.ตามธรรมชาติน้ำกับน้ำมันเป็นสารคนละประเถทไม่สามารถรวมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันได้.และน้ำมันจะแยกตัวแขวนลอยอยู่ในน้ำ.
ตามรูปข้างล่าง
      
การจำแนกประเภทของSurfactant นั้นเราใช้ชนิดของประจุไฟฟ้าที่อยู่บนส่วนที่ชอบน้ำHydrophilic.และแบ่งออกมาได้ 4 จำพวกตามนี้.
  1. Aninonic Surfactant (-) สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ เป็นสารกลุ่มหลักของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกได้ดีมาก มีฟองมาก และละลายน้ำได้ดี แต่ค่อนข้างระคายเคืองผิว นิยมใช้กันมากใน สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าต่างๆ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ  เช่น SLS (Sodium laureth sulfate), SLES(Sodium laureth sulfate), Sarcosinate, Sodium / Ammonium Lauryl Ether Sulphate,  Sodium /Ammomiun LaurylSulphate,  Linear Alkyl Benzene Sulphonate ( LAS) เป็นต้น
  2. Cationic Surfactant (+) สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก สารกลุ่มนี้ไม่มีความสามารถในการทำความสะอาด และไม่มีฟอง แต่สามารถเกาะและเคลือบเส้นผมได้ดี จึงนิยมใช้ในกลุ่มของ ครีมนวดผม หรือ น้ำยาปรับผ้านุ่ม เช่น Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB), benzalkonium chloride, Polyquaternium, Alkyltrimethyl ammoniumchloride เป็นต้น
  3. Amphoteric Surfactant (+,-) สารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบ สารทำความสะอาดกลุ่มน้ำมีคุณสมบัติทนต่อน้ำกระด้าง อ่อนโยนต่อผิว สามารถใช้ร่วมกับ SLS, SLES ได้ดี เมื่อใช้ร่วมกันสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อข้นขึ้นได้ ให้ฟองนุ่มมาก แต่ทำความสะอาดได้ไม่ดีเท่า Anionic Surfactant จึงนิยมใช้ร่วมกัน สารในกลุ่มนี้เช่น Cocamidoproply Betain เป็นต้น
  4. Nonionic Surfactant สารลดแรงตึงผิวชนิดนี้ไม่มีประจุ สารในกลุ่มนี้มีแตกต่างกันไป ตั้งแต่ละลายน้ำไม่ได้ จนละลายน้ำได้ดีมาก สารกลุ่มนี้อ่อนโยนต่อผิวมาก แต่ไม่ให้ฟอง บางคนไม่ชอบเพราะไม่มีฟอง ทำให้รู้สึกว่าไม่สะอาด จริงๆแล้ว การมีฟองหรือไม่มี ไม่ได้เกี่ยวกับการทำความสะอาด ชะล้างสิ่งสกปรกเลย มันจึงเป็นความเชื่อผิดๆที่ว่ายิ่งฟองเยอะยิ่งสะอาด  การที่ฟองยิ่งเยอะจะทำให้ผิวเรายิ่งระคายเคืองด้วยซ้ำ เช่น Lauryl Glucoside, PEG-6 Caprylic/Capric Glycerides เป็นต้น  ซึ่งนิยมใช้ใน เจลล้างหน้าสูตรไม่มีฟอง และ ผลิตภัณฑ์กลุ่มล้างเครื่องสำอางต่างๆ.       
                จะเห็นว่าสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุลบจะมีคุณสมบัติทำให้เกิดฟองดีที่สุด ส่วนสารลดแรงตึงผิวที่มีทั้งประจุบวกและลบจะมีคุณสมบัติในการทำให้พื้นผิวอ่อนนุ่มดีที่สุด สารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ในปัจจุบันได้มีการนำสารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                 รอยเปื้อนจากไข่,นมและเลือดเป็นรอยเปื้อนจากโปรตีนและไม่ละลายในน้ำ.จัดว่าเป็นรอยเปื้อนที่ทำความสะอาดยากที่สุด.การทำความสะอาดใช้ได้อย่างเดียวproteolytic enzymes (enzymes able to break down proteins) ผสมกับdetergents,  proteinic substance ทำให้น้ำซึมผ่านได้และdetergent จะทำให้รอยเปื้อนจำพวกนี้กระจายตัวผสมกับน้ำมัน.ปัจจุบันพบว่าEnzymeที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดรอยเปื้อนเหล่านี้ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบ.แต่ก็ยังมีการนำมาใช้อยู่.

แหล่งข้อมูล:https://www.britannica.com/technology/detergent
                 https://dss.go.th,https://content.chemipan.net












ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Featured post

Handmade Soap TAYAWON คุณสมบัติของน้ำมัน ว่าด้วย Lauric Acid

น้ำมันที่ใช้ในการทำสบู่ตามปฏิกริยา "Saponification Reaction "มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่ปริมาณของสารที่ส่งผลต่อค...

top social


Home Ads

designcart

Advertisement

Text Widget

About me

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

Powered By Blogger

Labels

Instagram

Facebook

Ads

Ad Banner
Responsive Ads Here

Blogroll

recentposts

Instagram